MCS บริษัท เอ็ม.ซี.เอส. สตีล จำกัด (มหาชน)
รักษ์รวย : กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ ฮ้า ไฮ้ ฮ้า ไฮ้
บุญมี : โอ้โห้…. วันนี้มาในชุดนักกีฬาจะแข่งกีฬาที่ไหนเนี้ย
รักษ์รวย : พอดี ผมจัดกิจกรรมกีฬาสีภายในออฟฟิศผมนะครับ เพื่อสร้างความสามัคคีให้กับบุคลากรในออฟฟิศ
บุญมี : ดี ดี แล้วอย่างรักษ์รวยเนี้ยเล่นกีฬาอะไรเป็นบ้างละเนี้ย
รักษ์รวย : ผมเล่นบาสเก่งน่ะ… ผมยังเคยใฝ่ฝันอยากจะเป็นตัวแทนทีมชาติไทยไปแข่งโอลิมปิกสักครั้งหนึ่ง
บุญมี : แล้วยังไงละ ได้ไปแข่งกับเค้าหรือยัง
รักษ์รวย : จะไปคงไปแข่ง.. อะไรกับเค้าละพี่ ตั้งแต่จบมัธยมมาผมยังไม่ได้แตะลูกบาสกับเค้าเลยสักที
บุญมี : พูดถึงโอลิมปิก พี่เห็นคำนี้ที่ไหนแว้บๆ น่ะ เมื่อเช้านี้เอง
รักษ์รวย : โอ้ย.. ยังอีกนานครับพี่กว่าจะจัดกันอีกที ได้ข่าวว่าครั้งหน้าเจ้าภาพจะเป็น ญี่ปุ่น หรือเปล่า
บุญมี : ใช่เลย… พี่คิดออกแล้ว จากหน้าหนังสือพิมพ์เมื่อเช้านี้เอง มีเขียนเกี่ยวกับโอลิมปิกด้วย เดี๋ยวพี่ขอหามาดูแปปหนึ่งน่ะ
รักษ์รวย : อะไรของพี่เนี้ย MCS แรงไม่หยุด ฉุดไม่อยู่ สะดุดไม่เป็น เกี่ยวอะไรครับโอลิมปิก
บุญมี : แกอ่านหรือยัง ดูที่คอลัมน์สุดท้าย เขาบอกว่า MCS มีโอกาสได้รับงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดแข่งขันโอลิมปิกปี 2563 ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่นจะมีการปรับปรุงสนามกีฬาแห่งชาติใหม่อีกด้วย
รักษ์รวย : แล้ว MCS เขาทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไรละพี่
บุญมี : ไม่รู้เหมือนกัน
รักษ์รวย : อ้าว
บุญมี : งั้นเราไปดูพร้อมๆ กันเลยละกัน
บริษัท เอ็ม.ซี.เอส. สตีล จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) (เดิมชื่อ “บริษัท เอ็ม.ซี.เอส. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด” และ “บริษัท เอ็ม.ซี.เอส. โฮโกกุ จำกัด”) ก่อตั้งขึ้นในปี 2535 โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในวงการเหล็กและธุรกิจก่อสร้างมานาน 4 ท่าน คือ ดร.ไนยวน ชิ นายสมพงษ์ เมธาสถิตย์สุข นายมาโนช อิวานุวัฒน์ และสุวัธน์ อึ้งภากรณ์ ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 15ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท เป็นหุ้นสามัญชำระเต็มมูลค่า จำนวน 500 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อประกอบธุรกิจผลิตและติดตั้งโครงสร้างเหล็กทั่วไปขนาดไม่ใหญ่สำหรับอาคาร ต่อมาได้พัฒนาเป็นผู้ผลิตโครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่ (Fabricated Steel) โดยเฉพาะโครงสร้างเหล็กที่เป็นคาน (Beam) และเสา (Column-Box) ที่มีความทนทานต่อแรงสั่นสะเทือนได้ดี เพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคารสูงขนาดใหญ่
รักษ์รวย : บริษัทมีการจัดจำหน่ายให้กับลูกค้าโดยตรง ไปยังกลุ่มลูกค้าผู้รับเหมาขนาดใหญ่และลูกค้าที่มีโครงการก่อสร้างทั่วไป โดยในปี 2557 บริษัทมีการจัดจำหน่ายโดยตรงให้กับลูกค้าในประเทศญี่ปุ่นประมาณ 93 % ของปริมาณการจำหน่ายรวม ส่วนที่เหลือเป็นงานในประเทศประมาณ 7 % ซึ่งโดยทั่วไปบริษัทจะได้รับรายการสั่งซื้อล่วงหน้าจากลูกค้าอย่างน้อย 6 เดือน ถึง 1 ปี ทำให้บริษัทไม่มีปัญหาเรื่องการผลิตและจำหน่าย นอกจากนี้ สินค้าของบริษัทมีคุณภาพได้รับมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในประเทศญี่ปุ่น และบริษัทได้รักษาคุณภาพชิ้นงานที่ผลิตให้ได้ตามมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้รับการยอมรับจากสถาบันที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศ และต่างประเทศ อีกด้วย
บุญมี : ส่วนใหญ่จะเน้นการรับงานจากประเทศญี่ปุ่นและจีนสิน่ะ ซึ่งจุดเด่นที่เราคาดการณ์ว่าจะทำกำไรให้กับ MCS ได้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ก็คือ การรับงานจากการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2020 ที่จะถึงนี้ที่ประเทศญี่ปุ่น
รักษ์รวย : เรามาดูในส่วนของงบการเงินกันก่อนดีกว่า
จะเห็นว่า MCS มีกำไรสุทธิต่อหุ้น หรือ EPS เพิ่มมากขึ้นทุกปี จากปี 55 ที่มี กำไรต่อหุ้นที่ 0.33 มาถึงปัจจุบันที่ไตรมาส 3/2558 นั้นมีกำไรต่อหุ้นที่ 0.90 บาท ลองสังเกต ROE จากปี 57 มาจนถึง 3/2558 เพิ่มขึ้นมากโดยมีส่วนต่างกันถึง 19.27 %
บุญมี : ลองมาดูในส่วนของยอดขายและรายได้กันบ้างน่ะ
ยอดขายสุทธิไตรมาส 3/2558 เทียบกับ ไตรมาส 3/2557 ต่างกันริบลับเลยทีเดียว เอาเป็นว่าดูตามตารางแล้วทุกอย่างเพิ่มขึ้นมาเยอะมาก
รักษ์รวย : เรามาดูอัตราส่วนสภาพคล่องทางการเงิน ของ MCS กันดีกว่าครับ
MCS มีอัตราส่วนสภาพคล่องที่ 1.68 ซึ่งถือว่าค่อนข้างจะดีเลยทีเดียว มีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ D/E Ratio อยู่แค่ 0.78 เท่า เพราะฉะนั้นยังสามารถกู้เงินเพื่อที่จะนำไปลงทุนในกิจการได้อีกมาก
บุญมี : เราลองมาเดาราคากันเล่นๆ ดูสิว่าจะได้เท่ากับที่บทวิเคราะห์ได้คำนวณไว้หรือเปล่า โดยการทำให้ EPS ปี 2558 นั้น กลายเป็น EPS เต็มปี 4 ไตรมาส ก็จะต้องนำ EPS เต็มปีของปี 2557 มาลบด้วย EPS ไตรมาสที่ 3 ของปี 2557 ก็จะได้ EPS ไตรมาส 4 ของปี 2557 มาบวกกับ EPS ไตรมาสที่ 3 ของปี 2558 งงมั้ย
รักษ์รวย : ไม่งงครับพี่
บุญมี : ก็จะได้ EPS 1 ปี 4 ไตรมาส เท่ากับ 0.16 – 0.02 = 0.14 + 0.90 = 1.04 บาท/หุ้น แล้วอัตราปันผลของ MCS เป็นเท่าไหร่
รักษ์รวย : ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ครับ
บุญมี : เราก็จะนำ 1.04 * 50 % ก็จะเหลือเท่ากับ 0.52 หรือเรียกง่ายๆ ก็คือเหลือแค่ครึ่งเดียว นำมาเทียบกับหลักขี้หมาที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่ประมาณ 2 – 2.5 ก็จะได้ราคาที่คาดเดาอยู่ที่ 0.52 * 100 /2 = 26 บาทต่อหุ้น และ 0.52 * 100/2.5 = 20.80 บาทต่อหุ้น สรุปคือราคาที่เราคาดเดาโดยหลักขี้หมาของเราจะได้ราคาอยู่ที่ประมาณ 20 – 26 บาทต่อหุ้นนั่นเอง พอจะใกล้เคียงกับที่สำนักวิเคราะห์เค้าคาดการณ์มาบ้างมั้ย
รักษ์รวย : ไม่รู้สิพี่เค้าไม่ได้บอกไว้ในข่าว แต่ราคาปัจจุบันอยู่ที่ 10.70 บาทต่อหุ้น ( 19/01/2558) แล้วยังมีปัจจัยอะไรเพิ่มเติมอีกมั้ยที่จะทำให้มีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของกำไรครับ
บุญมี : MCS ยังเหลืองานอยู่ในมือที่ยังไม่ได้ส่งมอบอีกเพียบ
และสิ่งที่หลายกิจการมองว่าทำให้กิจการต่างๆ แย่ลง แต่กับ MCS กลับมองว่าทำให้กิจการเป็นบวก นั่นก็คือราคาน้ำมันที่ดำดิ่งลงไปเรื่อยๆ ทำให้ส่งผลกระทบแง่บวกต่อต้นทุนการขนส่งในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ส่งออก ราคาน้ำมันที่ลดลงนั้นส่งผลให้ต้นทุนการขนส่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และสิ่งที่มองต่อก็คืออัตราการแลกเปลี่ยนค่าเงินเยนของญี่ปุ่น หากค่าเงินของญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้น เมื่อบริษัทได้รับเงินสกุลเยน แล้วนำมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยก็จะทำให้มีกำไรมากขึ้นยังไงละ
รักษ์รวย : การวิเคราะห์หุ้นนี้ หากจะมองเพียงแต่ตัวบริษัทอย่างเดียวก็ใช่ว่าจะครบเครื่องทุกอย่างเสมอไปน่ะครับ เรายังต้องมองเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก รวมถึงเศรษฐกิจของคู่ค้าอย่างสำคัญด้วยสิน่ะครับ
บุญมี : ถูกต้องแล้วละ….. อ้าว.. แล้วนี่ไม่ไปแข่งกีฬาแล้วเหรอ
รักษ์รวย : นี่มันกี่โมงแล้วครับ
บุญมี : ก็ประมาณ 14.30 แล้วละ
รักษ์รวย : ตายละ….. ผมมีแข่งบาสตอน 14.00 น. สงสัยจะไม่ทันแล้วมั้ยเนี้ย ไปละน่ะครับพี่ สวัสดีครับ
บุญมี : โชคดี ขอให้ไปให้ทันน่ะ
สามารถติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวต่างๆ
กดปุ่ม
หรือ แอดมาที่ ID = @sati.fpm