ดู P/E Ratio อย่างไรให้ลึกซึ้ง
ใฝ่ดี : เรื่องของ P/E Ratio จากคราวที่แล้ว ลุงสอนผมไปพอสมควรแล้ว ยังมีอะไรจะสอนผมเพิ่มเติมมั้ยครับ
ลุงเพียร : อย่างที่บอกไป ว่า P/E Ratio เราต้องมองให้เข้าใจมัน มองให้มันลึกซึ้ง
ใฝ่ดี : แล้วเราพอจะมีวิธีมองมันอย่างไรให้ลึกซึ้งล่ะครับ
ลุงเพียร : มีสิ…เดี๋ยวลุงมา
(ว่าแล้วลุงเพียรก็เดินไปหยิบหนังสือเล่มเล็กที่วางอยู่ในลิ้นชักด้านหลังห้องพักของลุงขึ้นมา ปัดฝุ่นออกเล็กน้อย หนังสือเล่มนั้นมีชื่อว่า นักลงทุนมืออาชีพ)
ลุงเพียร : มา..มาอ่านดูเอาเองละกัน ในหนังสือเล่มนี้บอกถึงวิธีการมอง P/E Ratio ให้ลึกซึ้งได้เป็นอย่างดี
ใฝ่ดี : ขอบคุณครับลุง
ลุงเพียร : มันน่าจะมีอยู่ราวๆ 10 กว่าข้อนี่แหละ ถ้าลุงจำไม่ผิด
(รายละเอียดเนื้อหาในหนังสือ มีดังนี้)
ดู P/E Ratio ให้ลึกซึ้งทำอย่างไร
นักลงทุนมืออาชีพสูดลมหายใจเข้าออกเข้าแบบนี้ครับ
- ดูหุ้นที่ตัวเขาจะลงทุน ว่าหุ้นตัวใดมีพื้นฐานทางการเงินและการทำธุรกิจที่แข็งแกร่ง โดยหุ้นที่มีพื้นฐานทางการเงินที่ดีจะต้องเป็นหุ้นที่มีอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญๆ ดีหมด เขียนมาถึงตรงนี้แล้วหลายคนอาจจะท้อตรงที่ ตัวของข้าก็ไม่รู้ว่าอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญๆ มีอะไรบ้าง แล้วมันหมายความว่าอย่างไร
- ตรงที่การลงทุนจะต้องลงทุนในหุ้นที่มีพื้นฐานในการทำธุรกิจที่ดี คือหมายความว่ากิจการนั้นมีแนวโน้มของการสร้างรายได้ได้อย่างต่อเนื่อง สินค้าเป็นที่ต้องการในตลาด ยอดขายในแต่ละปีเติบโตสูงขึ้นและในการเติบโตนั้นต้องปรากฎว่ามีกำไรในธุรกิจ กิจการไม่ได้มีขาดทุนสะสม เพราะฉะนั้นจึงเกิดการลงทุน ได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล กรณีแบบนี้หุ้นจะมีโอกาสวิ่งสูงขึ้นไปได้เรื่อยๆ เพราะหลักขื้หมาในการเล่นหุ้นได้เกิดขึ้นแล้ว
- หลายคนชอบลงทุนในหุ้นที่มีขาดทุนสะสมแต่มีแนวโน้มที่จะล้างขาดทุนสะสมได้หมดภายในระยะเวลาอันสั้น ด้วยเหตุนี้พอกิจการมีผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หุ้นที่มีขาดทุนสะสมก็เริ่มที่จะวิ่งเตลิดเปิดเปิงไป
- ถ้าท่านจำได้ ท่านก็จะรู้ว่ากฎหมายยินยอมให้บริษัทมหาชนเอาส่วนล้ำมุลค่าหุ้นที่เกิดขึ้นจากการขายหุ้นเพิ่มทุน อาทิ เช่น ออกหุ้นเพิ่มทุน 1.0 ล้านหุ้น มูลค่าที่กำหนด 10 บาท แต่ขายให้กับประชาชนในราคา 50 บาท/หุ้น เกิดส่วนล้ำมูลค่าหุ้น 40บาท/หุ้น รวมเป็นการออกหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้มีส่วนล้ำมูลค่าหุ้น 40 ล้านบาท ส่วนล้ำมูลค่าหุ้นจะถูกบันทึกในส่วนทุนในงบดุล และจะถูกบันทึกในรายการเงินสดในงบดุลด้านทรัพย์สิน ตรงนี้มีความหมายว่า บริษัทใดออกหุ้นเพิ่มทุนแล้วขายในราคาที่เกินกว่ามูลค่าที่กำหนดเยอะๆ บริษัทนั้นก็จะมั่งคั่ง คือ มีสินทรัพย์มากขึ้น เพราะส่วนล้ำมูลค่าหุ้นก็จะกลายมาเป็นเงินสดในรายการทรัพย์สินเพื่อให้บริษัทใช้ในการลงทุนต่อไป
เมื่อกฎหมายกำหนดให้เอาส่วนล้ำมูลค่าหุ้นมาล้างขาดทุนสะสมได้ สมมติว่าบริษัทที่ออกหุ้นเพิ่มทุนตะกี้นี้มีขาดทุนสะสมในปัจจุบัน 70 ล้านบาท งานนี้การเกิดขาดทุนสะสมจะทำให้บริษัทนี้ไม่สามารถที่จะจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ เพราะกฎหมายกำหนดห้ามไม่ให้บริษัทที่มีขาดทุนสะสมจ่ายเงินปันผล ด้วยเหตุนี้หุ้นของบริษัทจึงราคาไม่ไปไหน แต่พอบริษัทนี้เริ่มโชว์ผลประกอบการที่มีกำไรหลังจากที่โชว์ขาดทุนมาตลอดต่อเนื่องกัน 5 ปี โดยโชว์กำไรในไตรมาสแรกของปีที่ 35 ล้านบาท จากที่เมื่อ 3 เดือนก่อนยังโชว์ขาดทุนสะสมที่ 70 ล้านบาท ท่านเชื่อผมหรือเปล่าว่าเหตุการณ์นี้จะส่งผลทำให้หุ้นวิ่งขึ้นอุตลุด..วิ่งแบบยากเกินกว่าจะยับยั้ง
5. ผมต้องเขียนให้ท่านเข้าใจให้กระจ่างอีกที ว่าทำไมหุ้นบริษัทนี้จึงวิ่งอุตลุดทั้งๆ ที่ยังมีขาดทุนสะสมอยู่อีก 70 ล้านบาท มันวิ่งได้เพราะ
5.1 บริษัทมีขาดทุนสะสม 70 ล้านบาท
5.2 บริษัทมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้น 40 ล้านบาท
5.3 บริษัทมีกำไรในไตรมาสแรกของปีที่ 35 ล้านบาท
ท่านลองเอา -70 +40 +35 ดูซิ ท่านจะได้กำไรสะสมที่ 5.0 ล้านบาท มีความหมายว่าบริษัทนี้สามารถจะจ่ายเงินปันผลได้แล้วราคาหุ้นที่นิ่งๆ อยู่ที่ไม่กี่บาท/หุ้น ก็อาจจะขยับ โดยเริ่มขยับจากปริมาณซื้อขายหุ้นที่วันละไม่กี่หมื่นหุ้นกลายเป็นปริมาณซื้อขายหุ้นที่วันละหลายแสนหุ้นติดต่อและต่อเนื่องกันยาวนานหลายเดือน
เอ๊ะ..มีใครว่ะมันแอบมาเก็บหุ้นเข้าพอร์ต และใครวะที่ขายหุ้นทิ้งออกมา ทั้งๆ ที่การขายนั้นต้องเกิดการขาดทุนอย่างแน่นอน ทั้งหมดตรงนี้ตอบได้เลยว่า ผู้อยู่เบื้องหลังการซื้อขายหุ้นที่มากๆ ในแต่ละวัน คือผู้ที่รู้เหตุการณ์ในข้อ 4 เขารู้ก่อนนักลงทุนรายย่อยทุกคนด้วยเหตุนี้เขาจึงเข้ามาเก็บหุ้น และสร้างสถานการณ์ให้หุ้นตัวนี้คึกคัก โดยในอีกไม่นานหลังจากปริมาณการซื้อขายหุ้นคึกคัก เขาก็ทำการดันราคาหุ้นให้วิ่งขึ้นไป ภายใต้หลักคิดขี้หมาที่ได้สอนให้ท่านเข้าใจแล้วว่าหุ้นที่สามารถจะจ่ายเงินปันผลได้จะเป็นหุ้นที่ราคาวิ่งขึ้นตามหลักทฤษฎีการลงทุน
ใฝ่ดี : อ่านมาถึงตรงนี้ ผมเริ่มตาสว่างขึ้นมาแล้วละครับ ผมขอยืมไปอ่านที่บ้านแล้วกันน่ะครับ
ลุงเพียร : ได้สิ… แล้วอย่าทำของลุงหายน่ะ หนังสือเล่มนี้แหละ เป็นคัมภีร์ของลุงอีกเล่มหนึ่งเลยน่ะ
ใฝ่ดี : ขอบคุณครับลุง