งบดุล 2 (งบกำไรขาดทุน)
ใฝ่ดี : วันนี้ผมมาแต่เช้า ผมจะมาคุยกับลุงต่อจากเมื่อวันก่อนครับ
ลุงเพียร : เรื่องอะไรน่ะ
ใฝ่ดี : ลุงบอกจะคุยกับผมเรื่อง งบกำไรขาดทุน ใช้ดูความสามารถในการทำกำไรได้
ลุงเพียร : อ่อ..จำได้แล้ว การดูงบกำไรขาดทุนนั้นอ่ะน่ะ ก็จะทำให้เราเห็นภาพของรายได้ ต้นทุนสินค้าขาย กำไรเบื้องต้น ค่าใช้ในจ่ายในการขายและบริหารและกำไรสุทธิของกิจการ ว่ามีมากน้อยเพียงไร จบ………………….
ใฝ่ดี : ห๊ะ…!!! ตลกล่ะลุง อุตส่าห์มาแต่เช้า ลุงบอกแค่เนี้ย
ลุงเพียร : ฮ่าๆ ลุงล้อเล่น….คืออย่างงี้…กิจการที่ดีย่อมจะให้ผลลัพธ์ของการดำเนินงานที่มีกำไรเป็นบวก ซึ่งการเกิดขึ้นของกำไรจะถูกนำไปเก็บสะสมไว้ใน กำไรสะสมในงบดุลทำให้ส่วนทุนของกิจการเติบโตขึ้น เมื่อส่วนทุนของกิจการเติบโตขึ้น ทรัพย์สินของกิจการก็จะเติบโตตามไปด้วย ถ้าธุรกิจมีกำไร 10 ล้านบาท ส่วนทุนของกิจการในงบดุลก็จะโตขึ้น 10 ล้านบาทด้วย และทรัพย์สินของกิจการโดยเฉพาะรายการเงินสดและเงินฝากธนาคารก็จะโตขึ้น 10 ล้านบาทด้วยเช่นกัน
ใฝ่ดี : แสดงว่ากิจการนี้สามารถทำกำไรได้มากสิน่ะครับ
ลุงเพียร : ใช่..แต่ในบางกรณีกิจการมีการค้าขายเป็นเครดิต โดยอาจจะให้เครดิตลูกหนี้การค้า 3 เดือน ดังนั้นงบกำไรที่แสดงว่าภายใน 1 ปี กิจการมีผลประกอบการเช่นไร กาจจะแสดงกำไรสุทธิ 10 ล้านบาทก็จริง แต่ 10 ล้านบาทอาจจะไม่ใช่เงินสดทั้ง 100 %
ใฝ่ดี : ในทางบัญชี เมื่อสินค้าออกจากบริษัทไปแล้วหรือการปล่อยเครดิตให้ลูกค้าเอาไปใช้ก่อน ก็จะถูกบันทึกเป็นลูกหนี้การค้า ซึ่งถือว่า บริษัทเกิดรายได้ขึ้นแล้วใช่มั้ยครับ
ลุงเพียร : ใช่….. อย่าง 10 ล้านบาท มีเงินสดอยู่ 8 ล้าน ที่เหลือเป็นส่วนของลูกหนี้การค้าปะปนอยู่ด้วย ดังนั้นส่วนทุนที่โตขึ้น 10 ล้านบาท ก็จะสร้างทรัพย์สินให้โตขึ้น 10 ล้านบาท โดยมีทั้งรายการเงินสดและรายการลูกหนี้ปะปนกันไป และเวลาที่เราดูงบการเงินแล้วเห็นตัวเลขที่เป็นกำไรสุทธิเป็นลบ เราก็จะจินตนาการได้ว่าบริษัทนี้กิจการเป็นเช่นไร
ใฝ่ดี : ขอบคุณลุงมากครับ
ลุงเพียร : คราวหน้าลุงจะคุยถึงงบกระแสเงินสดสามารถ บอกอะไรเราได้บ้างละกันน่ะ
ใฝ่ดี : รับทราบครับผม ครั้งหน้าผมก็จะรีบมาเช้าๆ เหมือนเดิมน่ะครับ